การทำครอบฟัน มีประโยชน์ในการบูรณะฟันที่ได้รับความเสียหายจากหลากหลายสาเหตุ เช่น จากการที่มีฟันผุ แตกหัก ฟันบิ่น หรือใช้ครอบฟันเพื่อปกปิดสีของฟัน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับฟันที่รับการรักษารากฟัน และฟันที่มีรอยผุขนาดใหญ่มากๆ ให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิม และยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับฟันได้ด้วย
ฟันที่ต้องได้รับการครอบฟัน
- ฟันที่มีปัญหาแตกหักจนไม่สามารถใช้วิธีอุดฟันได้ เพราะเหลือเนื้อฟันน้อยเกินไป จนทำให้มีบริเวณที่ต้องอุดกว้างเกินขอบเขตที่การอุดฟันจะบูรณะได้ แต่การครอบฟันจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับฟัน ให้ความสวยงามและยังช่วยป้องกันการแตกหักเพิ่มเติมได้ดีด้วย
- ฟันที่มีรูฟันผุขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้โครงสร้างของฟันอ่อนแอและอาจจะมีฟันผุเพิ่มขึ้นอีก การอุดฟันแบบปกติไม่สามารถทำได้ ต้องใช้วิธีการครอบฟันเท่านั้น
- ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาก่อน ซึ่งมักจะทำให้ฟันซี่นั้นเกิดความเปาะบางอ่อนแอ และสามารถแตกหักได้ง่าย จึงควรครอบฟันเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวฟัน
- ช่วยแก้ไขปัญหาสีของฟันที่ไม่เท่ากันได้ หรือฟันที่มีรูปร่างไม่สมบูรณ์ อาทิ มีรอยบิ่น มีรอยแตก
- ฟันที่มีการเสียหายของฟันมากกว่า 1 ซี่ จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน ซึ่งต้องได้รับการทำสะพานฟันและจำเป็นต้องครอบฟันที่อยู่ด้านข้างระหว่างการทำสะพานฟันด้วย เพื่อให้เป็นฐานที่แข็งแรงรองรับการยึดของสะพานฟันได้
ประเภทของการครอบฟัน
1.การครอบฟันแบบโลหะล้วน เป็นการครอบฟันที่ให้ความแข็งแรงได้ดีเหมาะกับการทำบริเวณฟันกราม เพราะสีของวัสดุจะมีสีเงินมองเห็นได้ชัดเจน จึงไม่เหมาะกับการทำที่ฟันนี้ รวมทั้งยังมีความแข็งแรงมากรองรับการใช้งานฟันกรามที่ใช้บดเคี้ยวอาหารได้เป็นอย่างดี รวมทั้งกระบวนการทำยังกรอเนื้อฟันออกไปน้อยอีกด้วย
- การครอบฟันแบบโลหะผสมทอง เป็นการครอบฟันโดยใช้ทองมาเป็นส่วนประกอบหลักที่มีความแข็งแรงมากกว่าวัสดุอื่นๆ เหมาะสำหรับการเคลือบฟันบริเวณฟันกราม ซึ่งข้อดีของการใช้โลหะผสมทองจะมีความยืดหยุ่นทำให้สามารถครอบได้แนบสนิทกว่าแบบโลหะล้วน แต่สีของวัสดุจะเด่นชัดกว่าการครอบฟันแบบอื่นๆ
- การครอบฟันด้วยเรซิน เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงน้อย มักจะใช้เป็นการครอบฟันชั่วคราวระหว่างการรักษาเท่านั้น
- การครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิค ซึ่งเป็นการดึงเอาข้อดีของวัสดุ 2 ชนิดมารวมกัน ด้วยการนำความแข็งของโลหะมารวมกับการให้สีที่เหมือนฟันธรรมชาติของเซรามิคมาใส่ไว้ด้วยกัน เพื่อให้ได้ครอบฟันที่มีสีที่ดูเป็นธรรมชาติและได้ความแข็งแรงด้วย ข้อเสียของการครอบฟันชนิดนี้ต้องกรอเนื้อฟันออกไปมาก
- การครอบฟันเซรามิคล้วน เป็นการใช้วัสดุเซรามิกทั้งล้วนๆ ซึ่งมักจะทำที่บริเวณฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม และให้ความแข็งแรงได้ในระดับหนึ่ง ไม่สามารถทำที่ฟันกรามได้เพราะตัววัสดุรองรับการใช้งานหนักอย่างฟันกรามไม่ได้
ขั้นตอนการครอบฟัน
- ทันตแพทย์ทำการตรวจบริเวณฟันที่ต้องการครอบอย่างละเอียด แล้วฉีดยาชาบริเวณฟันที่จะทำ หากพบว่าฟันมีการอุดฟันไว้ ทันตแพทย์จะนำวัสดุอุดฟันออก เพราะเมื่อครอบฟันไม่จำเป็นต้องอุดฟันอีกต่อไป การครอบฟันจะเพิ่มความแข็งแรงและลงไปแทนทีวัสดุอุดฟันได้ทันที
- ทันตแพทย์พิมพ์ฟันเพื่อทำแบบจำลอง และส่งแบบจำลองไปยังห้องแลป เพื่อทำฟันที่จะนำมาครอบ ซึ่งจะออกแบบตามข้อมูลที่ทันตแพทย์ได้ส่งไป โดย ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการขึ้นรูป
- ระหว่างรอครอบฟันจากห้องแลปทันตแพทย์จะทำการติดที่ครอบฟันแบบชั่วคราวให้ ซึ่งครอบฟันแบบชั่วคราวจะไม่มีความแข็งแรงเท่าครอบฟันแบบถาวรจึงควรระมัดระวังการใช้งานฟันที่กำลังจะครอบเป็นอย่างดี หากฟันที่ครอบชั่วคราวหลุดหรือว่าหลวม ให้พยายามใส่ฟันที่ครอบชั่วคราวกลับไปยังตำแหน่งเดิม แต่หากไม่สามารถทำได้เองให้ไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ควรดูแลรักษาความสะอาดช่องปากให้ดีระหว่างใส่ครอบฟันชั่วคราว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผุซ้ำ
- เมื่อถึงกำหนดนัดครั้งที่ 2 แพทย์จะทำการรื้อที่ครอบฟันแบบชั่วคราวออก แล้วติดยึดที่ครอบฟันแบบถาวรลงบนฟันคนไข้ จากนั้นทันตแพทย์จะตรวจเช็คความพอดีและปรับให้เข้าที่ ซึ่งการดูแบความสะอาดครอบฟันให้ทำตามปกติที่เราทำความสะอาดฟันธรรมชาติ แต่ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูความเรียบร้อยทุกครั้งที่ทันตแพทย์นัดด้วย
การครอบฟัน เป็นการบูรณะฟันวิธีหนึ่งที่ได้ผลเป็นอย่างดี ให้ได้ทั้งความแข็งแรง ภาพลักษณ์ และการใช้งานฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเจอปัญหาฟันแตก ฟันบิ่น สีของฟันไม่สวย หรือขนาดของฟันที่ไม่เท่ากัน การครอบฟัน สามารถช่วยปรับเปลี่ยนลักษณะของฟันให้ดูดีขึ้นได้ และยังมีผลถาวรไม่ต้องมากังวลเรื่องการผุ หรือสีของฟันที่อาจเปลี่ยน ดังนั้น การครอบฟัน จึงถือว่ามีประโยชน์ทั้งในเรื่องของหน้าที่การบดเคี้ยวอาหารและภาพลักษณ์ที่สวยงามของแต่ละบุคคลด้วย